การรักษาภาวะ ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ- กำหนดเวลาเข้านอน และเวลาตื่นที่แน่นอน หลีกเลี่ยงการนอนหลับในช่วงเวลากลางวัน โดยเฉพาะช่วงหลัง 15.00 น. ควรใช้เตียงสำหรับการนอนหลับเท่านั้น ไม่ทำกิจกรรมอื่นบนเตียง และ หากถึงเวลาเข้านอนแต่ไม่ง่วง ก็ให้ลุกขึ้นมาหากิจกรรมที่ทำให้ง่วง เช่น อ่านหนังสือ สวดมนต์ ไม่นอนกลิ้งไปมาบนเตียง
- จัดสภาพแวดล้อมของห้องนอนให้เอื้ออำนวยต่อการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพ เช่น อุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อนหรือนหาวจนเกินไป ห้องนอนที่ไม่มีเสียงดังรบกวน หรือแสงจ้า และก่อนเข้านอนควรสร้างความผ่อนคลายแก่ร่างกาย ประมาณ 20-30 นาที เช่น ฟังเพลงเบาๆ หรือนั่งสมาธิ
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในห้องมืดๆ และหากิจกรรมที่ทำให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวในช่วงเวลากลางวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับรู้ว่านี่คือช่วงเวลากลางวัน และออกกำลังกายในเวลาที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆในช่วงเย็น
สำหรับผู้สูงอายุติดเตียง ที่ไม่สามารถลุกขึ้นมาทำกิจกรรมต่างๆได้ ต้องนอนบนเตียงเป็นส่วนใหญ่ ควรให้คนดูแลจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ในช่วงเวลากลางวัน ควรเปิดม่าน ให้มีแสงสว่าง และตอนกลางคืน ก็จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอน เพื่อให้ร่างกายรู้ว่าตอนนี้เป็นเวลากลางวัน หรือกลางคืน
- กำหนดเวลาการทานมื้อเย็นในคงที่ สม่ำเสมอ
นอนไม่หลับ ไม่ทานอาหารอิ่มเกินไป และหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเยอะๆ ในช่วงเวลา 4-5 ชั่วโมงก่อนนอน ควรจิบเพื่อแก้กระหายเท่านั้น
- รักษาโดยการใช้ยา เป็นทางเลือกสุดท้ายที่แพทย์แนะนำ เนื่องจากกระบวนการเผาผลาญของผู้สูงอายุทำงานได้ไม่เหมือนวัยอื่น ทำให้ฤทธิ์ของยาตกค้างอยู่ในร่างกายนานกว่าปกติ และอาจส่งผลกระทบต่อเรื่องอื่นๆ ดังนั้น การใช้ยานอนหลับในผู้สูงอายุ ครอบครัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา ไม่ควรซื้อยานอนหลับมาให้ผู้สูงอายุทานเอง
https://dtogenthailand.com/insomnia